วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิหารพาร์เธนอน


วิหารพาร์เธนอน (ภาษากรีก:το parthenon) คือวิหารโบราณบนเนินอะโครโพลิสในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานบูชาเทพีเอเธนา หรือเทพีแห่งปัญญา ความรอบรู้ ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นสิ่งก่อสร้างสถาปัตยกรรมกรีกโบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของสถาปนิกในสมัยนั้นและถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกว้าง 101.4 ฟุต หรือ 30.9 เมตร และ ยาว 228.0 ฟุต หรือ 69.5 เมตร
คำว่า พาร์เธนอน นั้นน่าจะมาจากประติมากรรมที่เคยตั้งอยู่ภายในวิหาร คือ Athena Parthenos ซึ่งมีความหมายว่า เทพีอันบริสุทธิ์

มหาวิหารโนตเรอดาม


มหาวิหารโนตเรอดาม (ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre Dame de Paris, กาเตดราลโนตเรอดามเดอปารี) เป็นมหาวิหารสมัยกอธิค ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame ในชื่อวัดนั้นแปลว่า "Our Lady" ปัจจุบันมหาวิหารก็ยังใช้เป็นวัดของนิกายโรมันคาทอลิกและเป็นที่นั่งของอัครบาทหลวงแห่งปารีส มหาวิหารนอเทรอดามถือกันว่าเป็นวัดที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอธิคแบบฝรั่งเศส วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแชน วีโยเล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc) ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส
การก่อสร้างเป็นแบบกอธิคเป็นมหาวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอธิค
ปฏิมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ (Naturalism) ทำให้แตกต่างจาก ศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น
นอเทรอดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "
กำแพงค้ำยันแบบปีกนก" (flying buttress) ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบมหาวิหาร "Choir" หรือ รอบทางเดินกลางของตัววัด (nave) เมื่อเริ่มสร้างกำแพงวัดสูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอธิคจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัววัดเอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของวัดที่สร้างแบบกอธิคไปในตัว
ราวปี ค.ศ. 1790 ระหว่าง
การปฏิวัติฝรั่งเศสวัดก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ประติมากรรมและศิลปะทางศาสนาถูกทำลายไปมาก มหาวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมีสภาพเหมือนก่อนหน้าที่ถูกทำลาย

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ (Stonehenge)

กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ มีอายุประมาณปลายยุคหินถึงต้นยุคบรอนซ์ ตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบซาลิสเบอรี ด้านเหนือของเมืองซาลิสเบอรี ในมณฑลวิลไซร์ ห่างจากกรุงลอนดอนไป 10 ไมล์ ประเทศอังกฤษ ไม่มีหลักฐานว่าใครเป็นผู้นำมาวางไว้ และนำมาวางไว้เพื่อจุดประสงค์ใด นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าสร้างมาเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของมนุษย์ยุคนั้น กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ประกอบไปด้วยก้อนหินทรงสูงขนาดใหญ่จำนวน 112 ก้อนวางตั้งเรียงเป็นรูปวงกลมซ้อนกันสามวง บางก้อนล้มนอน บางก้อนวางทับซ้อนอยู่บนยอด วงหินรอบนอกมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 100 ฟุต มีน้ำหนักเป็นตันๆ บริเวณที่ราบซาลิสเบอรีเป็นทุ่งโล่ง ไม่มีภูเขา และไม่ปรากฏว่ามีก้อนหินอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2507 เจอรัลด์ เอส เฮากินส์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้สันนิษฐานว่า เป็นสถานที่สำหรับทำนายตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับการเกิดฤดูกาลบนพื้นโลก คือเป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นมาอย่างหยาบๆนั่นเอง

สนามกีฬาแห่งกรุงโรม (The colosseum of Rome)

สนามกีฬาแห่งกรุงโรม เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ที่เริ่มสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียนแห่งอาณาจักรโรมัน และสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิติตัส (Titus) ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือ ประมาณปี ค.ศ. 80 อัฒจันทร์เป็นรูปวงกลมก่อด้วยอิฐและหินทรายวัดโดยรอบได้ประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร สามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 50,000 คน ใต้อัฒจรรย์มีห้องใต้ดินที่สร้างขึ้นเพื่อขังสิงโตและนักโทษประหาร ก่อนปล่อยให้ออกมาต่อสู้กันกลางสนาม นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประลองฝีมือของเหล่าอัศวินในยุคนั้น ปัจจุบันยังคงเหลือโครงสร้างเกือบสมบูรณ์ตั้งเด่นเป็นโบราณสถานที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั่วโลก

วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2552

ซิกกูแรต


ซิกกูแรต (Ziggurat) เป็นสิ่งก่อสร้างของอารยธรรมสุเมเรียน (Sumerians) ในบริเวณเมโสโปเตเมีย มีลักษณะคล้ายพีระมิดแบบขั้นบันไดแต่ไม่ก่อสร้างสูงจนเป็นยอดแหลม ด้านบนของซิกกูแรตซึ่งเป็นพื้นที่ราบกว้างจะสร้างเป็นวิหาร ในระยะแรกการสร้างซิกูแรตมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่ต่อมาซิกกูแรตนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังกษัตริย์ เช่น ซิกกูแรตที่เมืองอูร์ (Ur)
ซิกกูแรตสร้างขึ้นด้วยวัสดุจำพวกอิฐและไม้ ความแข็งแรงคงทนจึงสู้งานสถาปัตยกรรมยุคต่อมา เช่น พีระมิดอียิปต์ไม่ได้ เพราะงานของอียิปต์สร้างด้วยวัสดุจำพวกหิน ซิกกูแรตเก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีชื่อว่า “The White Temple” พบที่เมืองอูรุค (Uruk) หรือวาร์กา (Warka) บริเวณพื้นที่ประเทศอิรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 3,500 – 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่าพีระมิดของอียิปต์หลายร้อยปี

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552

ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน


นอร์เวย์ได้ชื่อ "ดินแดนอาทิตย์เที่ยงคืน" หรือ The Midnight Sun มาจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะโลกกลมและหมุนรอบแกนของตัวเอง พร้อมโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วย โดยจะเอียงแกนเอาขั้วโลกเหนือ-ใต้ สลับเข้าหาดวงอาทิตย์ชั่วระยะหนึ่งใช้เวลาเท่าๆ กันคือประมาณ 4-6 เดือน ระหว่างที่โลกหันเอาขั้วนั้นเข้าหาดวงอาทิตย์จะเป็นฤดูร้อน
เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกเหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกเหนือจะได้รับแสงสว่างและความร้อนเต็มที่ สว่างอยู่เป็นเวลา 24 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานับเดือน จะเห็นอาทิตย์โคจรเป็นทางโค้งอยู่เหนือขอบฟ้า ขึ้นสูงพ้นยอดไม้ และค่อยลดต่ำลงจนเกือบจดขอบฟ้า แต่จะไม่ลับขอบฟ้าไปเสียเลยทีเดียว ก่อนกลับสูงขึ้นไปอีกในตอนเที่ยงคืน ทำให้มีแสงสว่างสาดเป็นทาง ต้นไม้มีเงายาวทอดออกไปตามพื้นดิน คล้ายอาทิตย์ในยามเช้าหรือยามเย็น
ขณะเดียวกัน ฝั่งตรงข้ามคือขั้วโลกใต้จะมืดมิด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือนเช่นกัน แต่เมื่อโลกเอียงเอาขั้วโลกใต้เข้าหาดวงอาทิตย์ ขั้วโลกใต้ก็จะสว่างเป็นเวลานาน และมีปรากฏการณ์เห็นดวงอาทิตย์ตอนเที่ยงคืนเช่นกัน (เพียงแต่ว่าซีกโลกนั้นไม่มีมนุษย์อยู่อาศัยยืนยัน มีเพียงเพนกวินจักรพรรดิเท่านั้นที่เตาะแตะชมวิว) ยามขั้วโลกเหนือตกอยู่ในความมืด อากาศหนาวจัดตลอด 24 ชั่วโมงติดต่อนับเป็นเดือน
ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์เที่ยงคืน ณ โลกเหนือ จะเกิดขึ้นในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นอาร์ติกเซอร์เคิล หรือประมาณเส้นละติจูดที่ 66 องศาเหนือ ทำให้ผู้คนในประเทศที่อยู่เหนือเส้นละติจูดนี้มองเห็นดวงอาทิตย์ทั้งในเวลา กลางวันและกลางคืน
สำหรับนอร์เวย์ สถานที่ที่ชมตะวันยามเที่ยงคืนได้เหมาะเจาะคือเมืองทรอมโซ่ ระหว่าง 16 พฤษภาคม-27 กรกฎาคม และเมืองสวาลบอร์ด ซึ่งเป็นหมู่เกาะกลางมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่นอร์เวย์ขึ้นไปอีก 640 กิโลเมตร ระหว่าง 19 เมษายน-23 สิงหาคม
นอกจากนอร์เวย์ ดินแดนที่อยู่เหนือเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล ประกอบด้วย อะลาสกา แคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ สวีเดน ฟินแลนด์ และดินแดนของรัสเซียอย่างบริเวณโนวาวา เซมล์ยา หรือมูร์มันสก์ ก็สามารถมองเห็นอาทิตย์เที่ยงคืนได้เหมือนกัน ทั้งนี้ดินแดนที่เคยมีบันทึกว่าเกิดปรากฏการณ์อาทิตย์เที่ยงคืนนานที่สุด คือทางปลายเหนือสุดของฟินแลนด์ ดวงอาทิตย์ไม่ตกดินนานถึง 73 วัน
สำหรับการจัดเวลากลางวันกลางคืน ดวงอาทิตย์ไม่สร้างความสับสน เพราะว่าไปตามนาฬิกาเป็นปกติ

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

หิมะ


หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส
หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0°C (32°F) และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จาก
เครื่องสร้างหิมะเทียม(snow cannon)
รูปทรงของเกล็ดหิมะ
ความสมมาตรของส่วนที่ยื่นออกมาของเกล็ดหิมะนั้น จะเป็นสมมาตรแบบหกด้านเสมอ เนื่องมาจากเกล็ดน้ำแข็งปกตินั้นมีโครงสร้างผลึกหกเหลี่ยม(หรือที่รู้จักกันในชื่อ ice Ih) บนระนาบฐาน(basal plane)
คำอธิบายถึงความสมมาตรของเกล็ดหิมะนั้นโดยทั่วไป มีอยู่ 2 คำอธิบาย คือ
1. อาจเป็นไปได้ที่จะมีการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างส่วนที่ยื่นออกของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของแต่ละก้านนั้นส่งผลถึงกัน ตัวอย่างของรูปแบบที่ใช้ในการสื่อสารนั้นอาจเป็น
ความตึงผิว หรือ โฟนอน(phonon)
2. คำอธิบายที่สองนี้จะค่อนข้างแพร่หลายกว่า คือ แต่ละก้านของเกล็ดหิมะนั้นจะงอกออกโดยไม่ขึ้นแก่กัน ในสภาพแวดล้อมที่
อุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมอื่นๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อเทียบกับขนาดของเกล็ดหิมะแล้วเชื่อว่าสภาพแวดล้อมจะมีสภาพที่เหมือนกันในช่วงขนาดสเกลของเกล็ดหิมะ ซึ่งส่งผลให้การงอกออกของก้านในแต่ละด้านนั้นอยู่ภายใต้เงื่อนไขเหมือนกัน จึงทำให้ลักษณะการงอกออกนั้นเหมือนกัน ในลักษณะเดียวกับที่รูปแบบการเติบโตของวงแหวนอายุในแกนของต้นไม้ในสภาพแวดล้อมเดียวกันจะมีรูปร่างเหมือนๆกัน ความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่ระดับสเกลใหญ่กว่าเกล็ดหิมะนั้นส่งผลให้รูปของเกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดนั้นมีรูปร่างที่แตกต่างกัน
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่ไม่มีเกล็ดหิมะใดที่มีรูปร่างเหมือนกันนั้นไม่ถูกต้อง เกล็ดหิมะสองเกล็ดนั้นมีโอกาสเหมือนกันได้ เพียงแต่โอกาสนั้นน้อยมาก
American Meteorological Societyได้บันทึกการค้นพบเกล็ดหิมะที่มีรูปร่างเหมือนกันโดย แนนซี่ ไนท์(Nancy Knight) ซึ่งทำงานที่National Center for Atmospheric Research ผลึกที่ค้นพบนั้นไม่เชิงเป็นเกล็ดหิมะซะทีเดียวที่เป็นรูป ปริซึมหกเหลี่ยมกลวง (hollow hexagonal prism)

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ช็อกโกแลต


ช็อกโกแลต หรือ ช็อกโกเลต (Chocolate) คือผลิตผลที่ได้มาจากเมล็ดของต้นโกโก้เขตร้อน ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมของของหวานหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นไอศกรีม ลูกอม คุกกี้ เค้ก หรือว่าพาย ช็อกโกแลตถือได้ว่าเป็นของหวานอย่างหนึ่งที่ถูกใจคนทั่วโลก
ช็อกโกแลตทำจากการหมัก คั่ว และบดอย่างละเอียดของเมล็ดโกโก้ซึ่งได้มาจากต้นโกโก้เขตร้อน (tropical cacao tree) ซึ่งมีต้นกำเนิดจากอเมริกากลางและเม็กซิโก ต้นโกโก้นั้นถูกค้นพบโดยชาวอินเดียนแดงและชาวอัซเตก (Aztecs) แต่ในปัจจุบันได้แพร่กระจายและปลูกไปทั่วเขตร้อน เมล็ดของต้นโกโก้นั้นมีรสฝาดที่เข้มข้นมาก ผลผลิตของเมล็ดโกโก้รู้จักกันในนาม "ช็อกโกแลต" หรือบางส่วนของโลกในนาม "โกโก้"
ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดโกโก้รู้จักภายใต้หลายชื่อแตกต่างกันไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ใน
อเมริกา อุตสาหกรรมช็อกโกแลตได้จำกัดความไว้ว่า
โกโก้ (cocoa) คือเมล็ดของต้นโกโก้
เนยโกโก้ (cocoa butter) คือไขมันของเมล็ดโกโก้
ช็อกโกแลต (chocolate) คือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของต้นโกโก้และเนยโกโก้
ช็อกโกแลตคือส่วนผสมระหว่างเมล็ดของฝักถั่วโกโก้และเนยโกโก้ ซึ่งได้ผสมน้ำตาลและส่วนผสมอื่น ๆ และถูกทำให้อยู่ในรูปของแท่งและรูปอื่น ๆ
เมล็ดของต้นโกโก้นอกจากทำเป็นช็อกโกแลตได้แล้วยังสามารถทำเป็นเครื่องดื่มได้ด้วย เช่น ช็อกโกแลตร้อน เครื่องดื่มช็อกโกแลตนั้นได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยชาวอัซเตก (Aztecs) หลังจากนั้นโดยชนเผ่าอินเดียนแดงและชาวยุโรป
บ่อยครั้งที่ช็อกโกแลตมักจะถูกทำให้อยู่ในรูปของ
สัตว์ต่าง ๆ คน หรือวัตถุในจินตนาการ เพื่อร่วมในงานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น รูปกระต่าย รูปทรงไข่ในเทศกาลอีสเตอร์ รูปของเหรียญหรือซานตาคลอสในเทศกาลคริสต์มาส และรูปทรงหัวใจในเทศกาลวาเลนไทน์

กาแฟ


เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ กาแฟเป็นสินค้าธรรมชาติที่มีการซื้อขายกันมากเป็นอันดับสองของโลก รองจากปิโตรเลียมเท่านั้น
มนุษย์เริ่มบริโภคกาแฟตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อถูกค้นพบตามที่ราบสูงในเอธิโอเปีย จากนั้นก็แพร่กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟก็เดินทางไปถึงอาเซอร์ไบจาน เปอร์เซีย ตุรกีและแอฟริกาเหนือ จากโลกมุสลิม กาแฟก็เดินทางไปยังอิตาลี จากนั้นไปยังส่วนที่เหลือของยุโรป อินโดนีเซียและทวีปอเมริกากาแฟมีส่วนสำคัญในสังคมหลายแห่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ในแอฟริกาและเยเมน กาแฟเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา ดังนั้นคริสตจักรเอธิโอเปียจึงสั่งห้ามบริโภคกาแฟจนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรดิมีนีลิคที่ 2 แห่งเอธิโอเปีย กาแฟถูกสั่งห้ามในจักรวรรดิออตโตมาน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง และได้รับความร่วมมือจากกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป
กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก ในปี
ค.ศ. 2004 กาแฟเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลกเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศและในปี ค.ศ. 2005 กาแฟเป็นพืชที่มีการส่งออกนอกประเทศมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 7 ทั่วโลกกาแฟได้รับการโต้เถียงอย่างมากในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน่

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

สตอกโฮล์ม

สตอกโฮล์ม (Stockholm) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศสวีเดน ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกของประเทศสวีเดน มีประชากรในเขตเทศบาลสตอกโฮล์ม 774,000 คน ถ้านับเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบทั้งหมดจะมีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน
สตอกโฮล์มเป็นที่ตั้งของรัฐบาลสวีเดน และที่ประทับของ
สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของสวีเดน
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ที่เก่าที่สุดของสตอกโฮล์ม เริ่มที่ ค.ศ. 1252 โดยสตอกโฮล์มเป็นเมืองศูนย์กลางในการค้าขายแลกเปลี่ยนแร่เหล็กจากเหมืองใกล้เคียง สตอกโฮล์มก่อตั้งเป็นเมืองที่อยู่อาศัยเต็มรูปแบบเพื่อปกป้องตัวเองจากนักเดินเรือต่างถิ่น สตอกโฮล์มเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิสวีเดนอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1634
ในช่วง ค.ศ. 1713–1714 สตอกโฮล์มพบปัญหาการระบาดของ
กาฬโรค และสงครามใหญ่ทางภาคเหนือระหว่างสวีเดนกับชาติยุโรปเหนืออื่นๆ ใน ค.ศ. 1721 ซึ่งส่งผลให้จักรวรรดิสวีเดนต้องสิ้นสุดลง และเมืองสตอกโฮล์มเสียหายอย่างหนัก
สตอกโฮล์มค่อยๆ ฟื้นความสำคัญกลับคืนมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า

บลูทูธ


บลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูทช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ
ที่มาของชื่อบลูทูธนั้นนำมาจากกษัตริย์ฮารอล์ด บลูทูธ (King Harold Bluetooth) ของประเทศเดนมาร์ก
สัญลักษณ์ของอุปกรณ์นี้คือตัวอักษร อักษรรูนส์ Rune เมื่อนำตัวหน้าของชื่อกษัตริย์ Harald Bluetooth มาวางซ้อนกัน
ตัว H ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์กากบาท ที่มีขีดพาดกลางตามแนวตั้ง หรือตัว
Hagalaz ในอักษรรูนส์ ส่วนตัว B ถูกแทนด้วยตัว Bekano ซึ่งคล้ายตัว B เดิมอยู่แล้ว
เมื่อนำสัญลักษณ์ทั้งสองตัวมาซ้อนกันจึงได้ โลโกของ bluetooth ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้
ระยะทำการ
ความสามารถในการส่งข้อมูลของบลูทูธนั้นขึ้นกับแต่ละ class ที่ใช้ ซึ่งมี 3 class ดังนี้
Class 1 กำลังส่ง 100 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 100 เมตร
Class 2 กำลังส่ง 2.5 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 10 เมตร
Class 3 กำลังส่ง 1 มิลลิวัตต์ ระยะประมาณ 1 เมตร

Nice


Nice เป็นเมืองริมชายหาดของทะเลเมดิเตอเรเนียน มีพื้นที่ 4,294 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ห่างจากปารีส 931 กิโลเมตร ตั้งอยู่กลางทางระหว่างเมืองคานส์(เมืองที่มีการประกวดภาพยนต์ที่ยิ่งใหญ่รายการหนึ่งของโลก”รางวัลลูกโลกทองคำ)กับโมนาโค(เมืองที่มีการแข่งขันรถยนตร์สูตรหนึ่ง “มองติคาร์โลกรังปรีซ์” หนึ่งในรายการสะสมคะแนนของWorld Grand Prix ) และอยู่ห่างชายแดนอิตาลีเพียง เมือง Nice เป็นเมืองหลวงของแคว้น Côte d'Azur ที่อยู่ริมชายหาด ริเวียร่า (Riviara)ของอ่าวนางฟ้า (baie des Anges )ที่ยาวเหยียดกว่า 20 กิโลเมตร และเป็นจุดสิ้นสุดของเทือกเขา Alps และแม่น้ำ Paillon
Nice เป็นเมืองแรกในยุโรปที่มีรายได้หลักมาจากการท่องเที่ยว เป็นเมืองตากอากาศที่โด่งดังมากของยุโรป แม้แต่พระราชินี Victoria ของอังกฤษก็ยังมาพักผ่อนในช่วงฤดูหนาวติดต่อกันหลายปี มนต์เสน่ห์ของทิวทัศน์ชายหาดริเวียร่าจึงเป็นชื่อที่ใช้อ้างอิง ของสถานที่พักผ่อนริมน้ำ ตามที่ต่าง ๆ ของโลก มากมาย

วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2552

ดาวศุกร์



ดาวศุกร์


ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุดสำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง"ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀