วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551

ทัชมาฮาล



ตามประวัติเล่าว่า มุมทัชมาฮาล เป็นผู้หญิงที่งดงามมีเสห่น์ที่สุดในโลก นามเดิมว่า อรชุมันต์ภานุเบคุม เป็นบุตรของท่านอสัฟข่าน มารดาชื่อ ทิจันเบคุม อสัฟข่าน มุมทัชมาฮาล เกิดเมื่อ ค.ศ. 1592 เธอสนใจวิชาวรรณคดี ถนัดวิชาวาดเขียนและดนตรีมาก ได้สมรสกับชาห์ชะฮาน ขณะที่เธออายุ 19 ปี อยู่กินกันถึง 18 ปี มีบุตรชาย 8 คน บุตรหญิง 9 คน แต่มีชีวิตอยู่เพียง 5 คน เธอถึงแก่กรรมลงขณะคลอดลูกสาวคนสุดท้องชื่อ เกาษะนารา ตลอดเวลา 18 ปี มุมทัชมาฮาล เป็นภรรยาที่แสนประเสริฐเป็นที่รักของชาน์ชะฮาน เธออยู่ข้างสามีตลอดเวลาไปไหนไปด้วยกัน แม้ว่าจะออกทัพจับศึกก็ตามไปให้กำลังใจเสมอ มุมทัชมาฮาล จูงใจให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานบังเกิดความรัก ความเมตตา โดยการช่วยเหลือคนยากจน คนพิการ และคนที่ประสบความทุกข์ลำบาก ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานรักเธอ ตรึงใจในเธอ ตรึงใจในเธอมิรู้ลืม วาระสุดท้ายที่มุมทัชมาฮานมเหสีสุดที่รักของกษัตริย์ชาน์ชะฮานจะจากไปอย่างไม่มีวันกลับ กษัตริย์ชาห์ชะฮานยกทัพไปปราบกบฏข่านชะหานโลดีที่เดกคานโดยมีมุมทัชมาฮาลติดตามไปให้กำลังใจสามีด้วย ทั้งๆที่เธอตั้งท้องแก่ เมื่อกษัตริย์ชาห์ชะฮานปราบกบฏราบคาบแล้ว ก็กลับเมืองมุระหันปุระ มุมทัชมาฮาลเจ็บท้องคลอดลูกคนสุดท้าย พอเธอคลอดแล้วเธอตกเลือดมากอยู่เพียงชั่งโมงเดียวก็สิ้นใจในอ้อมกอดของกษัตริย์ชาห์ชะฮาน ก่อนที่มุมทัชมาฮาลจะสิ้นใจเธอได้ขอร้องสามี 2 ข้อด้วยกัน คืออย่าให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานมีภรรยาใหม่ และขอให้กษัตริย์ชาห์ชะฮานสร้างอนุสาวรีย์ที่ฝั่งศพของเธอให้งดงาม เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกให้ได้ กษัตริย์ชาห์ชะฮานรับปากที่จะปฏิบัติตามทุกอย่าง เยี่ยงสามีที่รักภรรยาอย่างสุดชีวิตทั้งหลาย ในครั้งแรกศพของมุมทัชมาฮาลฝังไว้ที่เมืองมุระหันปุระ เพื่อเตรียมเคลื่อนย้ายไปสู่นครอัคระ จนกระทั่งต่อมาอีก 6 เดือนกษัตริย์ชาห์ชะฮานได้สั่งให้เคลื่อนย้ายศพของเธอไปบรรจุไว้ที่หลุมฝั่งศพในสวนราชาฃัยสิงห์ แห่งนครอัคระโดยสร้างศาลาชั่วคราวไว้เหนือหลุมศพ เล่ากันว่า ในวันเคลื่อนศพมุมทัชมาฮาลมายังนครอัคระนี้ ได้จัดริ้วขบวนเกียรติยศยิ่งใหญ่มากเจ้าชายสุชาโอรสองค์ที่สองของกษัตริย์ชาห์ชะฮาน นำขบวนประยูรญาติเดินตามพระศพ มีการโปรยทานตลอดทาง นับแต่มุมทัชมาฮาลสิ้นชีวิต กษัตริย์ชานห์ชะฮานหมกมุ่นอยู่ในความทุกข์ตลอดเวลา มิได้ยิ้ม มิได้หัวเราะ โดยเฉพาะมิได้สนใจต่อร่างกายปล่อยเนื้อปล่อยตัว จนผมดำกลายเป็นผมขาวทั้งศีรษะ ทุกวันกษัตริย์ชาน์ชะฮานนุ่งขาวห่มขาว ไปนั่งรำพันถึงมุมทัชมาฮาลข้างหลุมศพ บางครั้งกอดหลุมศพรำพันอย่างเสียสติ กษัตริย์ชาห์ชะฮาน ได้โปรดนำเงินหนึ่งแสนรูปีออกทำบุญแผ่กุศลแก่มุมทัชมาฮาลจากที่เธอจากไปเป็นเวลา 3 ปี ในปี ค.ศ. 1631 กษัตริย์ชานห์ชะฮานโปรดให้สร้างอนุสาวรีย์ใหญ่ เป็นที่ฝั่งศพของมุมทัชมาฮาลโดยเลือกบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมนา ตอนโค้งที่สวยงามและเหมาะที่สุด โดยที่นี่เดิมเป็นสวนของขุนนางผู้ใหญ่หลายท่าน มีเนื้อที่ 125 ไร่ ครั้งแรกกษัตริย์ชานห์ชะฮานให้ทำรูปจำรองก่อนด้วยไม้ เมื่อรูปจำรองพอใจแล้ว จึงมีการลงมือสร้างด้วยหินอ่อนขาวชนิดเยี่ยมทั้งสิน สถาปนิกที่ออกแบบก่อสร้างอนุสาวรีย์ที่ยิ่งใหญ่ กษัตริย์ชาห์ชะฮานได้เชิญสถาปนิกเอกทั่วอินเดีย และประเทศเตอร์กีเปอร์เซีย ซึ่งเป็นพันธมิตรกัน ผู้ที่มีฝีมือยอดเยี่ยมซึ่งกษัตริย์ชาน์ชะฮานคัดเลือกคือ มุหะมัด อิซเอฟันดี ชาวเตอรกี โดยมี มุหะมันชารีฟแห่งแคว้นซามาระกันต์ เป็นผู้ช่วย ทั้งสองได้รับเงินเดือนๆละ 1 พันรูปี มุหะมัด ฮานนีฟ แห่งอัคร เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายวิศวกรอิสไมล์ข่าน แห่งเตอรกี เป็นผู้สร้างโดมมโนสิงห์ แห่งละโฮว์ มันสิฑาร์ แห่งมุลตาล โหันลาล แห่งกาเนาร์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายตกแต่ง อมานัข่าน แห่งเปอร์เซีย และมุหะมัดข่าน แห่งแบหแดด เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรจารึก ซาดสมานิ ข่าน แห่งอาหรับเป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะทั่วไป อมตามูหะมัก แห่งมอคารวา เป็นนานช่างแกะสลั อับดุลสะ แห่งเมืองเดลี มุหะมัด สัจจะ แห่งเมืองบอล์ซ และสกุลลา แห่งเมืองมุลตาน เป็นช่างก่ออิฐ พลเทพพาส อมีร์อาลีราษันข่าน แห่งมุลตาน เป็นผู้สลักดอกไม้ อับดุล การิบ และมาการะมัดข่าน เป็นผู้สร้างที่ฝั่งศพ มุฮัมมัดอิชา ออกแบบอนุสาวรีย์ โดยอาศัยเค้าโครงจากที่ฝั่งศพของหูมายูนที่เมืองนิวเดลี
วัสดุก่อสร้างทั้งหลายมาจากที่ต่างๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. หินอ่อน ได้จากเมืองชัยปุร
2. ศิลาแลง จากฟาเตปุรริขรี
3. พลอยสีฟ้า จากธิเบต
4. พลอยสีเขียว จากอียิปต์
5. หินสีฟ้า จากคัมภัย
6. โมรา จากคัมภัย
7. เพชร จากเมืองฟันนา
8. หินทองแดง จากรัสเซีย
9. หินทราย จากแบกแดด
นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับจากมิตรประเทศอีกหลายแห่ง สถานที่ก่อสร้างแรกที่เดียวสร้างเป็นนิคมให้คนงานอยู่ ชื่อว่า มุมทัชชาบัด ปัจจุบันยังมีซากเหลืออยู่บ้าง เรียกว่า ตาจกันซ์ ทุกคน ทุกฝ่ายทุ่มเทสุดความสามารถทุ่มเทชีวิต สร้างอนุสาวรีย์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อมุมทัชมาฮาล ผู้เคยให้ความเมตตากรุณาต่อพวกเขาอย่างยิ่ง ในขณะที่เธอยังมีชีวิตอยู่ ยิ่งประณีตวิจิตรบรรจงเท่าใด ก็เป็นการถวายความจงรักภักดีมากเท่านั้น อนุสาวรีย์มุมทัชมาฮาลสำเร็จเสร็จสิ้นลงอย่างงดงาม หลังใช้เวลาในการก่อสร้างตกแต่งทั้งสิ้นถึง 22 ปี
หีบศพของมุมทัชมาฮาลถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานอยู่ในห้องใต้ดินบริเวณโดม และบิเวณโดมมโนสิงห์ซึงปรากฏหีบศพของมุมทัชมาฮาล และของกษัตริย์ชาห์ชะฮาน ประดิษฐานอยู่นั้นเป็นหีบศพจำลอง กษัตริย์ชาห์ชะฮาน เฝ้าระทมเพราะการจากไปของมุมทัชมาฮาล มเหสีสุดที่รักอยู่เป็นเวลา 36 ปี ก็พอดีเกิดศึกกลางเมืองมีการแย่งชิงราชบัลลังก์ขึ้นระหว่างพระโอรสของกษัตริย์ชาห์ชะฮานเอง กษัตริย์ชาห์ชะฮานถูกจับไปขังไว้ที่ป้อมใหม่เมืองอัคระเอารังเซบ โอรสของกษัตริย์ชาห์ชะฮานขึ้นครองบัลลังก์แทนกษัตริย์ชาห์ชะฮานได้สวรรคตที่ป้อมแห่งนี้ ก่อนสิ้นใจได้ขอให้ชาราพาประคองศีรษะของพระองค์ขึ้น ให้มองเห็นภาพทัชมาฮาล เพื่อระลึกถึงยอดรักของพระองค์ในนาทีสุดท้าย เอาวังเซบราชโอรสจึงได้นำพระศพของพระบิดามาประดิษฐานไว้เคียงข้างพระศพของมุมทัชมาฮาล ณ อณุสาวรีย์ที่สวยที่สุด ยิ่งใหญ่ที่สุด มหัสจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และสถิตอยู่ให้โลกพิศวงกระทั่งปัจจุบันนี้ จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคปัจจุบัน